ในประเทศ

นักวิชาการเห็นชอบควบรวม พร้อมแย้ง กสทช. สรุปโมเดลค่าบริการไม่ครบมิติ พร้อมเสนอแนะเพียบ

โฟกัสกรุ๊ป รอบ 3 นักวิชาการ ตบเท้าเห็นด้วยควบรวม พร้อมติง กสทช. ประเด็นความเหมาะสม ปูพื้นโมเดลชี้นำก่อนเริ่มโฟกัสกรุ๊ปก่อนนักวิชาการทยอยแนะแนว กสทช. แบบจำลองที่นำเสนอไม่ครบ พร้อมเสนอตัวแปร และ การมองภาพใหญ่

วันที่ 7 มิถุนายน 2564 กสทช. เปิดการโฟกัสตามโรดแมปครั้งที่ 3 เป็นรอบของนักวิชาการ ภาพรวมคึกคัก ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการควบรวม พร้อมเสนอแนะปัจจัยพิจารณาให้กับ กสทช. โดยเวลาประมาณ 9:00 น. กสทช. ได้ใช้เวลาในช่วงแรกของการทำโฟกัสกรุ๊ป นำเสนอสรุปผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทค โดยกสทช.ศึกษาเองผ่านโมเดล Merger Simulation และ Upward Pricing Pressure Model(UPP) รายงานโดย ดร.ประถมพงศ์ ศรีนวล เศรษฐกรเชี่ยวชาญ สำนักงาน กสทช. และสรุปผลการศึกษาฯโดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป(CGE Model)โดย ผศ.ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งใช้วลานำเสนอประมาณ 1:30 ชั่วโมง อธิบายถึง 9 ฉากทัศน์ ที่อาจเกิดขึ้น หลังการควบรวมว่า และเลือก 2 กรณีมานำเสนอ โดยตั้งสมมุติฐานว่า หากฮั้วกัน ระหว่าง เอไอเอส ทรู และ ดีแทค ราคาจะขึ้นเท่าไหร่ โดยใช้ Merger Simulation และ UPP Analysis ว่าราคาจะขึ้น ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จำลอง และ หากทั้ง 3 ไม่ฮั้วกัน จะเกิดผลกระทบอย่างไร และเปิดโอกาสให้นักวิชาการที่เข้าร่วมประชุม แสดงความคิดเห็น ทำให้ผู้มาร่วมการโฟกัสกรุ๊ปเปรียบเทียบว่าการจัดการประชุมครั้งนี้คล้ายกับเป็น Listen Group “เวทีรับฟังกสทช.” มากกว่า “เวทีรับความความคิดเห็น” เพราะกสทช. อย่างไรก็ดี หลังจากเริ่มเปิดการรับฟังนักวิชาการ ทำให้เห็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ กสทช. ยังไม่ได้นำมาพิจารณาหลายประเด็น สรุปได้ดังนี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรภวิษย์ บุญศรีเมือง รองคณบดีวิจัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ให้ความเห็นว่า “สมควรควบรวม” อ้างอิงจากโมเดล Merger Simulation ที่ ดร.ประถมพงศ์ ศรีนวล เศรษฐกรเชี่ยวชาญ สำนักงาน กสทช. ศึกษานั้นมีข้อสงสัยปัจจัยอุปสงค์ ครอบคลุม 3G และ 4G คำนวณจากปัจจัยหมายเลขใช่หรือไม่ และขอเสนอให้นำข้อมูล NT มาทำวิจัยด้วย เนื่องด้วย NT เป็นผู้เล่นที่มีคลื่นจำนวนไม่น้อยอยู่ในมือ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จึงอาจไม่เที่ยงธรรม ด้วยเพราะไม่ได้นำ NT มาคำนวณด้วยทั้งที่ NT มีใบอนุญาต และ NT ก็มีความตั้งใจในการเป็นผู้แข่งขันในอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างว่า ในซอยหนึ่งมีบริการห้องเช่าหลายราย แต่บอกว่า ห้องเช่าหนึ่งไม่ค่อยมีคนเช่า เช่น NT ดังนั้น ไม่นับ ทำให้ปัจจัยทุกอย่างคลาดเคลื่อนไป ทำให้ผลงานวิจัยนำไปใช้ต่อไม่ได้

ดร. รุจิระ บุนนาค อาจารย์พิเศษ เอแบค และ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า “ควบรวมมีประโยชน์” ต้องการให้มองหลาย ๆ ส่วนประกอบด้วย เรามองข้ามตัวแปรสำคัญคือ ดิจิทัล ดิสรัปชั่น หรือผลกระทบความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ข้อมูลที่ กสทช.นำมาวิจัยเป็นข้อมูลเก่ามาก โดยภาพรวมเห็นว่าการควบรวมนับว่ามีประโยชน์พอสมควรทีเดียว เพราะมีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาด้วย เราจะมุ่งเน้นไปที่โทรคมนาคมโดยแท้คือการสื่อสารและเสียง Voice แต่เรามองข้ามตัวแปรที่สำคัญคือ digital Disruption ที่ไม่เอามาคำนวณในสูตรเลยนั้นไม่ได้ การเอามาอ้างข้อมูลทางเศรษฐกิจ ปี 2558 เป็นข้อมูลก่อนการเกิดโควิดอีก ทางกสทช.ไม่น่าจะนำข้อมูลล้าสมัยมาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน และรวมถึงการไม่คำนึงถึงปัจจัยด้าน Digital Disruption ทาง กสทช. ก็คาดการณ์ผิด ปัจจุบันมีการ Streaming มากมาย ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจทีวีดิจิทัล แต่ กสทช. ก็ไม่เอามาคำนึงเลย ตอนนี้ OTT ก็สำคัญ บริการทางสื่ออินเตอร์เน็ต ทั้งข้อความ เสียงและวีดีโอ ทั้ง Facebook, Line, WhatsApp’s นักวิชาการก็ไม่ได้นำมาวิเคราะห์เลย ทำไมไม่ดูผลการศึกษา Mckinsey มีผลการศึกษาว่า บริษัทโทรคมนาคมต้องลงทุนเพิ่มขึ้นสูงถึง 300% แต่ความแตกต่างระหว่างรายได้ของบริษัทโทรคมนาคม และ ผู้เล่นดิจิทัลระดับโลก รายได้เยอะขึ้นมาก แต่ผลการศึกษาทางวิชาการมองโลกเก่าโทรคมนาคมที่ล้าสมัยมาก และดาวเทียม ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่อีก และต้องกำหนดข้อมูลภาวะตลาดให้เหมาะสม และ ต้องให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัชรินทร์ คำสิงห์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการบิน วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ขอให้พิจารณาเพิ่มการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัย(factor) เรื่องความต้องการใช้งานของผู้ที่ต้องการใช้งานเพราะว่าในปัจจุบันการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของเศรษฐกิจในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะมาเป็นทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เพราะฉะนั้นคุณภาพของ Network ที่เกิดขึ้นและเป็นเรื่องที่สำคัญ จะมาพิจารณาเฉพาะเรื่องของราคา ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้ เพราะว่าประชาชนทั่วไปก็ต้องการที่จะใช้อินเตอร์เน็ตที่มันคุณภาพดีขึ้นแล้วก็การพัฒนาด้านต่าง ๆ มันก็จะดีขึ้น ทั้งนี้ควรมองตัวแปรด้านจิตวิทยาด้วย และ ผู้บริโภค ก็จะไม่ครอบคลุมตัวแปรที่จำเป็น เห็นว่าการควบรวมจะส่งผลให้เกิดประโยขน์ต่อผู้บริโภคมากกว่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธภูมิ สุวรรณเวช รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เห็นด้วยในการควบรวม และมองโมเดลที่ กสทช. ใช้ต้องพิจารณาตัวแปรด้านจิตวิทยาด้วยซึ่งถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวแปรอื่น ได้แก่ ตัวแปรด้านจิตวิทยาของผู้ประกอบการ และของผู้บริโภคด้วย ซึ่งจะส่งผลที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคหรือตัวประชาชน และสร้างความเข้มแข็งในเชิงธุรกิจ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด นอกจากนี้ยังมีตัวแปรด้านเทคโนโลยี และค่าใบอนุญาตเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ต้นทุน และราคาค่าใช้บริการของผู้บริโภคสูงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการกำหนดของกสทช. ซึ่งเป็นหน้าที่อยู่แล้ว

ศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ อดีตประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เห็นด้วยกับการควบรวม โดยเสนอแนะว่า การนำค่า HHI มาพิจารณาประเด็นเดียวมิได้ การตั้ง HHI สูงแค่ไหน อยู่ที่การกำกับดูแลของ กสทช. เราต้องมองว่า เราจะมีกำลังการแข่งขันในประเทศ และ ต่างประเทศอย่างไร ในกิจการโทรคมนาคม อ.ประสิทธิ กล่าวว่า รู้จักมา 40 กว่าปี และ ได้เกี่ยวข้องมา 20 ปี มีปัจจัยสำคัญ 3 ตัวคือ คลื่นความถี่ เป็นสมบัติของชาติ หากประมูลราคาคลื่นสูงขนาดนี้ ผู้ได้รับประโยชน์ก็คือผู้มีกำลังประมูลมากที่สุด ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการไม่เท่าเทียมแต่แรก ในขณะที่ต่างประเทศ รัฐจัดสรรคลื่นให้เอกชนทำ ไม่ได้คิดราคาค่าคลื่นสูงอย่างของประเทศไทย แต่ใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ เรื่องคลื่น กสทช. ต้องระวังว่าปัจจุบันใครคือมีผู้มีคลื่นความถี่มากที่สุด แต่ กสทช. ไม่พูดถึง และ NT ก็มีคลื่นความถี่ กิจการทหารก็มีคลื่นความถี่ การไม่เอามาใช้ประโยชน์ กระทบผู้บริโภคโดยตรง และ ต้องสนับสนุนด้าน Infrastructure และ Optical Fiber อีกเยอะแยะ ที่ต้องทำเรื่อง Infrastructure Sharing แต่ทำไม่ได้ ดังนั้น กสทช. ต้องมองเรื่องคลื่นความถี่ และ หากรวมกัน อย่าไปมองว่า รวมกัน จาก 3 ไป 2 เท่านั้น ขอให้คำนึงถึง NT ด้วย NT มี Infrastructure มากที่สุด และ มีคลื่นมากเช่นกัน แต่สำคัญคือ กสทช. ต้องมีฐานข้อมูล เช่น กิจการไฟฟ้า เค้ามี GIS แต่ในกิจการโทรคมนาคม กสทช. มีข้อมูลหรือไม่ ข้อมูลอยู่ที่ผู้ประกอบการ แต่ กสทช. จะไปตัดสินหรือพิจารณาจะต้องมีการลงทุนด้านข้อมูล และ ประเด็นที่ 3 ต้องมองเพื่อนบ้านว่า พัฒนาไปถึงไหนแล้ว พอเทคโนโลยีดีขึ้น การใช้ก็สะดวกขึ้น ถ้าเพิ่มกำลังซื้อเค้าดีขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ เทคโนโลยีบางอย่าง หากไม่จับมันไว้ มันก็หลุดไปเลย ล่าสุด Space X ไม่สนใจประเทศไทย เพราะไปอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ เวียดนาม นั่นเพราะ เค้าดูว่า กิจการโทรคมนาคมของประเทศเหล่านั้น เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนจากต่างประเทศ คลื่น NT สำคัญในการให้บริการชายขอบ สุดท้าย กสทช. แค่ทำให้โปร่งใส เรื่องราคา เรื่องผู้ใช้ เรื่องความเดือดร้อนของผู้ใช้ ก็จะทำให้สังคมไว้วางใจ

อ.เสรี วงศ์มณฑา นักวิชาการอิสระด้านการตลาด แสดงความเห็นว่า การพิจารณานี้ต้องมองตัวแปรให้ครบ เรามี กสทช.เป็น Regulator เวลาเราบกว่า ควบรวมและราคาจะขึ้น เป็นไม่ได้ ต้องใช้ Evident และ เรื่องความสัมพันธ์คู่แข่ง ว่า การที่เค้าจะมาฮั้วกันมันเป็นเรื่องที่ยาก และ เรื่องที่ขาดคือ จิตวิทยา มนุษย์เรามีสมองซ้ายและขวา การเอาตัวเลขมาใช้ตัดสินเพียงประการเดียว อาจไม่เพียงพอ ต้องคำนึงถึงเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก ในยุคนี้ ไม่มีใครจะมาขึ้นราคา แล้วเอาเปรียบผู้บริโภคได้ ด้านเทคโนโลยี การควบรวมจะเป็นประโยชน์ และ ด้านทรัพยากร หากรวมกันแล้วสามารถแบ่งปันกันเพื่อลดต้นทุน ทำให้เสนอราคาที่ต่ำลงได้ (Cost Advantage) จะเห็นได้ว่า การควบรวมยังไม่เกิดขึ้น เอไอเอส ก็ออกมาแข่งขันแล้ว การแข่งขัน ต้องพูดถึงการลงทุนด้านนวัตกรรม เรื่องรักษาประโยชน์ผู้บริโภคมี กสทช .อยู่แล้ว คงไม่ยอมให้ขึ้นราคาในระดับที่ไม่เป็นธรรมของผู้บริโภค มนุษย์เรามองทั้งสมองและหัวใจ

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายสุจริตไทย แสดงความเห็นว่า ถ้าเราเชื่อเรื่องการค้าเสรี การทำโมเดลโดย กสทช. เกิดประโยชน์น้อยมาก ให้คิดง่าย ๆ ว่า มีใครเดือดร้อนจากการควบรวมกิจการ ประการแรกคือ Monopoly หรือไม่ ซึ่งกสทช.ก็จัดการได้ ประการที่สอง คือ มีการฮั้วกันหรือไม่ กสทช. ก็มีอำนาจอยู่แล้ว ไทยอยู่ในประเทศเสรี การนำโมเดลคณิตศาสตร์มาวิเคราะห์คาดเดา แล้วบอกว่า จะมีผลกระทบแล้วจะไม่ให้ควบรวมนั้น เกรงว่า จะทำให้เกิดปัญหาในภายหลังได้

ทั้งนี้ภาพรวมการจัดโฟกัสกรุ๊ปครั้งที่ 3 ทำให้เห็นว่า นักวิชาการส่วนใหญ่ยังมองภาพบวก กรณีควบรวมทรูดีแทค และ เห็นด้วยกับการควบรวม พร้อมเสนอแนะกสทช. การนำโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่ กสทช. ได้เตรียมมานั้น ไม่สามารถใช้คาดเดาการแข่งขันในอนาคตได้หากพิจารณาปัจจัยไม่ครบถ้วน และต้องไม่ลืมข้อมูลเขิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นจริง เพราะบทบาทหน้าที่การกำกับราคา เป็นบทบาทโดยตรงของ กสทช. และ การมองมิติตัวแปรด้านสังคม ด้านความสัมพันธ์คู่แข่ง ด้านรูปแบบตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป การที่ต้องมองตัวแปรให้ครบ และ ใช้ข้อมูลที่ทันสมัย ล้วนเป็นปัจจัย ที่การศึกษากสทช. ที่นำมาเสนอ ยังไม่มีความครบถ้วน ซึ่ง นักวิชาการส่วนใหญ่มองว่า เห็นด้วยกับการควบรวม และ ต้องพร้อมต่อการปรับตัว ให้แข่งขันได้ กับเทคโนโลยีใหม่