ประชาสัมพันธ์-โปรโมชั่น

ไอคอนสยาม เนรมิตพื้นที่ “ไอคอนคราฟต์” จัดนิทรรศการ “INFINI JUD” ในงาน “ICONCRAFT x Bangkok Design Week 2024”

ไอคอนสยาม เนรมิตพื้นที่ “ไอคอนคราฟต์” จัดนิทรรศการ “INFINI JUD” ในงาน “ICONCRAFT x Bangkok Design Week 2024” ชวนผู้รักงานออกแบบและสร้างสรรค์ ร่วมสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. – 18 ก.พ. 2567

ไอคอนสยาม แลนด์มาร์กระดับโลกริมแม่น้ำเจ้าพระยา และ ไอคอนคราฟต์ (ICONCRAFT) พื้นที่แห่งแรงบันดาลใจที่รวบรวมสุดยอดงานคราฟต์จากช่างฝีมือไทยทั่วประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ชั้น 4 และชั้น 5 ไอคอนสยาม ร่วมกับ เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ (Bangkok Design Week 2024) จัดงาน “ICONCRAFT x Bangkok Design Week 2024” เปิดพื้นที่ไอคอนคราฟต์ จัดนิทรรศการ ICONCRAFT x วศินบุรี ในชื่อ “ไอ้จุดไม่จบ” (INFINI JUD) จัดแสดงผลงาน “ไอ้จุด” กว่า 100 ตัว ผลงานการออกแบบของศิลปินไทยมากความสามารถ “วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์” ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทายาทโรงงานเถ้า ฮง ไถ่ โรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาแห่งราชบุรี ที่ก่อตั้งมากว่า 80 ปี งานนี้เปิดให้ผู้สนใจงานออกแบบและสร้างสรรค์มาร่วมสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษได้ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ไอคอนสยาม

ในปีนี้ ไอคอนสยาม และศูนย์การค้าในครือของกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ ได้ร่วมเป็นหนึ่งในพื้นที่การจัดงานของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ (Bangkok Design Week 2024) ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในธีม Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี โดยร่วมจัดนิทรรศการย่อย ICONCRAFT x วศินบุรี ในชื่อ “ไอ้จุดไม่จบ” (INFINI JUD) นำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ของคุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินผู้คร่ำหวอดในแวดวงศิลปะและเซรามิกไทย มาสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ร่วมงาน และผู้ที่หลงใหลในงานศิลปะได้สัมผัสกันอย่างใกล้ชิด ณ ชั้น 4 ไอคอนคราฟต์

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินเจ้าของผลงาน “ไอ้จุด” กล่าวกว่า วันนี้ไอ้จุด ได้เดินทางเข้ากรุงจากราชบุรีอีกครั้ง แบบยกฝูงกว่า 100 ตัว มาวิ่งเล่นที่ไอคอนคราฟต์ ตอกย้ำการเป็นพื้นที่เพื่อสนับสนุนผลงานสร้างสรรค์ งานคราฟต์จากช่างฝีมือไทยทั่วประเทศแบบไม่รู้จบ สำหรับผลงาน “ไอ้จุด” เป็นผลงานรูปปั้นสุนัข ซึ่งถือเป็นซิกเนเจอร์ โดยเป็นประติมากรรมลูกหมาพันธุ์ทางจากราชบุรี ตัวแทนความฉลาดแสนรู้ของหมาบ้านๆ ซื่อ-ซ่า- ซน ที่รักบ้าน รักชุมชน ชอบงานศิลปะ เพราะคลุกคลีอยู่ในโรงงานเซรามิกกับพี่ๆ ช่างฝีมือ มีหน้าที่ส่งต่อความรัก ความซื่อสัตย์ กำลังใจ และพลังงานบวกให้แก่ผู้พบเห็น

จุดเริ่มต้นของ “ไอ้จุด” ลูกหมาพันธุ์ไทย ที่นับเป็นส่วนหนึ่งของ Street Culture ของไทย แต่เดิมทำจากเซรามิกขนาดเท่าลูกสุนัข ที่เป็นส่วนหนึ่งของงานชุด Coming Closer ของคุณวศินบุรี ก่อนถูกนำไปจัดแสดงที่กรุงเทพ และเบอร์ลิน ในปี 2550 และนำกลับมาแสดงอีกครั้งในนิทรรศการ “รอยยิ้มสยาม” งานเปิดหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในปี 2551 ซึ่งทำให้ “ไอ้จุด” ถูกเพิ่มบริบทให้กับคำว่า “ศิลปะร่วมสมัย” เข้ามาอยู่ในสังคมไทยมากขึ้น และขยายเข้าถึงคนในวงกว้าง กลายเป็นตัวแทนของความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น และรอยยิ้มสยาม และเป็นสัญลักษณ์ว่าไม่ใช่เฉพาะที่เมืองหลวง แต่ทุกๆ ที่ในบ้านเรา ก็จำเป็นต้องมีคำว่า ศิลปะเข้ามาอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน

“สำหรับประติมากรรม “ไอ้จุด” ดูง่าย ไม่ซับช้อน สามารถเข้าถึงได้ง่าย จึงทำให้เกิดการเชื่อมโยงโดยใช้งานศิลปะร่วมสมัย ดึงดูดผู้ชมให้เข้าไปเรียนรู้กับงานที่เป็นประวัติศาสตร์และความทรงจำของชุมชน ที่สะสมอยู่ในพิพิธภัณฑ์ พร้อมกันนี้ ด้วยความน่ารักของประติมากรรมไอ้จุด ยังได้สร้างความสนใจและดึงดูดผู้ชมทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมากมาย” วศินบุรี กล่าว

ปารีสา จาตนิลพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจค้าปลีก Concept Shop บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า การเปิดพื้นที่ไอคอนคราฟต์ จัดนิทรรศการ “INFINI JUD” ในครั้งนี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของสยามพิวรรธน์ ในการเป็นแพลตฟอร์มที่ร่วมรังสรรค์ผลงานสร้างสรรค์ (Creative Co-Creation Platform) ด้วยการ Co-create ร่วมกับศิลปินสร้างสรรค์มากมาย เปิดอากาสให้ได้โชว์เคสผลงานและนำเสนอประสบการณ์พิเศษ อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตที่ดีและมีประสิทธิภาพของทุกภาคส่วน (Well-growing platform) ส่งเสริมการพัฒนาเมืองในมิติต่างๆ สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งให้กับผู้คน ชุมชุมและสังคม

ไอคอนคราฟต์ ขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมเปิดประสบการณ์ของศิลปะร่วมสมัย กับ นิทรรศการ ICONCRAFT x วศินบุรี ในชื่อ “ไอ้จุดไม่จบ”(INFINI JUD) กับผลงาน “ไอ้จุด” กว่า 100 ตัว ผลงานการออกแบบของศิลปินไทยมากความสามารถ “วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์” ศิลปินแถวหน้าของเมืองไทย โดยนิทรรศการนี้พร้อมเปิดให้ทุกคนมาร่วมสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ และดื่มด่ำกับงานศิลปะที่น่าหลงใหลนี้ได้ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ไอคอนสยาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1338 หรือ Facebook: ICONSIAM