‘ลอนจี’ เปิดตัว 2 โมดูลใหม่ สร้างปรากฏการณ์นวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์
ลอนจี (LONGi) โดย บริษัท ลอนจี กรีน เอเนอร์จี เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ระดับโลก จัดงาน ‘LONGi New Product Lunch 2024 And Press Conference’ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด 2 โมดูล Hi-MO X6 MAX และ Hi-MO 9 ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะกำหนดอนาคตของนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเป็นทางการ รวมถึงประกาศการทุบสถิติประสิทธิภาพการแปลงพลังงานสูงสุดของโลก พร้อมเปิดตัว Top Partner ที่สำคัญเพื่อร่วมกันผลักดันพลังงานทดแทน ด้วยเทคโนโลยี Hybrid Passivated Back Contact ในตลาดโซลาร์เซลล์ประเทศไทย ยกระดับการขับเคลื่อนอย่างเต็มศักยภาพเพื่อให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน Net Zero อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณหม่า เหมิง (Ma Meng) General Manager of Thailand, Vietnam Representative Office, LONGi, ดร.สุธี ไตรวิวัฒนา Sales Director, LONGi, คุณณัฐภาส ไทยสีหราช Product Manager, LONGi, คุณวัชรินทร์ บุญฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน, คุณฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการธุรกิจบำรุงรักษา (ชธธ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมบรรยายทิศทางและนโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงจาก Top Partner ร่วมกันผนึกกำลังสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหม่ให้กับอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียน ณ โรงแรม พาร์ค ไฮแอท กรุงเทพฯ เซ็นทรัลเอ็มบาสซี่
คุณหม่า เหมิง General Manager of Thailand, Vietnam Representative Office พร้อมด้วย ดร.สุธี ไตรวิวัฒนา Sales Director และ คุณณัฐภาส ไทยสีหราช Product Manager 3 ผู้บริหารจากลอนจี ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ LONGi’s Vision of Solar Energy World ว่า “ลอนจีเริ่มต้นธุรกิจแผงโซลาร์เซลล์ตั้งแต่ปี 2543 และก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกอย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 4 ปี เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของลอนจีก็คือ บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยี Diamond Wire Cutting มาใช้ ซึ่งลดต้นทุนของแผ่นเวเฟอร์พลังงานแสงอาทิตย์ลงถึง 80% ส่งผลให้พลังงานโซลาร์ก้าวเข้าสู่ Grid Parity (ราคาค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์เท่ากับไฟฟ้าที่ซื้อจากสายส่งไฟฟ้า)
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเป็นอย่างมาก ทำให้มีเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาศักยภาพในการผลิตพลังงานออกมาอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่นเทคโนโลยี BC (Back Contact) ทำให้แผงโซลาร์สามารถดูดซับแสงได้ดีกว่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงาน สูงขึ้น ส่งเสริมให้การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของประเทศไทยเป็นไปได้รวดเร็ว และดียิ่งขึ้น รวมถึงส่งผลให้ลอนจีเป็นอันดับ 1 ของโลก ติดต่อกันกว่า 3 ปี (2020-2023)
เรามุ่งมั่นที่จะมอบผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่อัดแน่นด้วยคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือและผลตอบแทนสูงสุด แก่ลูกค้าชาวไทย รวมถึงการมีส่วนร่วมในการผลักดันพลังงานสะอาดของประเทศไทย นั่นคือความตั้งใจของเรา ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เหล่านั้นภายใต้ภารกิจ ของลอนจี ‘เพื่อสร้างพลังงานแสงอาทิตย์ที่ดีที่สุดเพื่อโลกสีเขียว’ อย่างยั่งยืน โดยยึดผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง
ในปัจจุบันทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีการตื่นรู้ และมีความต้องการด้านพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากการเติบโตของพลังงานทดแทนของโลกในปี 2023 สูงขึ้นมากถึง 50% เมื่อเทียบกับปี 2022 โดยพลังงานแสงอาทิตย์คิดเป็นสัดส่วน 3 ใน 4 ของพลังงานทดแทนทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมาก
ด้วยความต้องการของตลาดที่สูงขึ้น ความต้องการด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และระยะเวลาการรับประกันและความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคมองหา (เนื่องจากอายุการใช้งานของระบบโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานหลายสิบปี) เทคโนโลยีที่ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มาก และเทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับสภาพอากาศที่แปรปรวนมากขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงการออกแบบแผงโซลาร์เซลล์ให้เหมาะแก่การใช้งานที่หลากหลาย ล้วนเป็นเรื่องท้าทาย และผู้ผลิตให้ความสำคัญสูงสุด ทำให้เทคโนโลยี BC ได้กลายเป็นเทรนด์ของตลาดตั้งแต่ปี 2023 ซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นวงกว้างในเรื่องของประสิทธิภาพสูง และดูดซับแสงได้ดี
ล่าสุด ลอนจี ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 โมดูล ได้แก่ Hi-MO X6 MAX และ Hi-MO 9 ที่จะกำหนดอนาคตของนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งทั้ง 2 โมดูลมาพร้อมเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่างBC อีกทั้งยังผลิตด้วย เวเฟอร์ซิลิคอน TaiRay ซึ่งลอนจีใช้เวลาวิจัยพัฒนานานกว่า 3 ปี ทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเทคโนโลยีทั้งหมดที่มีวางจำหน่ายอยู่ในขณะนี้ จุดเด่นของเทคโนโลยี BC คือ การเชื่อมวงจรทั้งหมดที่ด้านหลังของเซลล์ ซึ่งต้องใช้กรรมวิธีพิเศษในการผลิตเซลล์ประเภทนี้ โดย BC เป็นเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง สามารถนำไปผสานรวมกับเทคโนโลยีอื่นๆได้ นอกจากนี้ยังมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม รวมไปถึงเสถียรภาพของแผงที่สูงขึ้นจากประโยชน์ทางด้านดีไซน์ของตัวเทคโนโลยี BC เองอีกด้วย มาพร้อมกับอัตราการเสื่อมสภาพที่ต่ำกว่า 1% ในปีแรก และ 0.4% ในปีที่ 2 เป็นต้นไป
นอกเหนือจากเทคโนโลยีที่ใส่มาจะมีความล้ำสมัย และมีเสถียรภาพที่สูงแล้ว Hi-MO X6 Max หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวในงาน ยังมีประสิทธิภาพสูงถึง 23.3% มาพร้อมรุ่นย่อยมากถึง 4 รุ่น ตอบโจทย์ความต้องการในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา ที่หลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วย Explorer, Scientist, Artist และ Guardian โดยมีพิกัดกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 565 วัตต์ ไปจนถึง 600 วัตต์ และแต่ละรุ่นก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด อย่างรุ่น Guardian Anti-dust ที่มีความพิเศษในการออกแบบขอบอลูมิเนียมให้ช่วยลดการสะสมของฝุ่นบนหน้าแผงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอุณหภูมิเฉลี่ยของแผง เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า เพิ่มเสถียรภาพของระบบ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการล้างแผงลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับ Hi-MO 9 อีกหนึ่งไฮไลท์ของผลิตภัณฑ์ลอนจีที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี HPBC 2.0 ผนวกกับ เวเฟอร์ซิลิคอน TaiRay ทำให้ได้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าในสภาพแสงน้อย ช่วยให้สามารถผลิตพลังงานได้ยาวนานขึ้น โดยประสิทธิภาพของโมดูลสูงถึง 24.43% ผลิตกำลังไฟสูงสุดถึง 660 W เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง มีความทนทานในกรณีที่แสงแดดไม่สม่ำเสมอได้อย่างดี อีกทั้งยังมีอัตราการเสื่อมสภาพที่ต่ำกว่าแผง N-type ทั่วไปกว่า 1.5% ในระยะ 30 ปี เหมาะสำหรับโซลาร์ฟาร์มและโซลาร์ลอยน้ำเป็นอย่างมาก
โดยทราบกันดีว่าแกนหลักของการพัฒนาเทคโนโลยีแผงโซลาร์เซลล์นั้น มีการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงอยู่เสมอ ลอนจีให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมาโดยตลอด การขับเคลื่อนประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยี การปรับปรุงประสิทธิภาพการแปลงอย่างต่อเนื่อง และยังเข้าใกล้ขีดจำกัดทางทฤษฎีของประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยี BC (Back Contact Crystalline Silicon Heterojunction Solar Cell) ที่พัฒนาโดยลอนจี มีประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน (Efficiency) สูงถึง 27.30% ซึ่งสร้างสถิติโลกใหม่ สำหรับประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยว ประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ Crystalline Silicon-Perovskite Tandem Solar Cell พัฒนาขึ้นโดยลอนจี ได้สร้างสถิติโลกที่ 33.9%
พร้อมกันนี้ ลอนจี ได้เปิดตัว Top Partner พันธมิตรทางธุรกิจ นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญ ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนสนับสนุนผลักดันให้ทุกภาคส่วนบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero ในปี 2065 เพื่อมุ่งสร้างกลยุทธ์ดำเนินการปฏิรูปเพิ่มขีดความสามารถร่วมกันในการกำหนดแผนงานอย่างครอบคลุมทุกมิติและยั่งยืน
สำหรับ Top Partner ประกอบไปด้วย กลุ่มที่ 1. ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer – IPP) และผู้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบเบ็ดเสร็จ (EPC) นำโดย บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (B.Grimm Power PCL.),บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GLOBAL POWER SYNERGY PCL.),บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด (Combined Heat and Power Producing Co., Ltd.),บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จำกัด (SCG CLEANERGY Co., Ltd.)
กลุ่มที่ 2 ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ นำโดยบริษัทเอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (SiS Distribution (Thailand) PCL.), บริษัท คิวทีซี อาร์อี จำกัด (QTC RE Co., Ltd.), บริษัท ศิวาโซล่า เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (SIWASOLA ENERGY CO., LTD.), บริษัท แอลที เอนเนอร์ยี 4 จำกัด (LT ENERGY 4 CO.,LTD.), บริษัทเมก้า อินดัสทรี (ประเทศไทย) จำกัด (MEGA INDUSTRY (THAILAND)CO., LTD.)
กลุ่มที่ 3 ผู้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบเบ็ดเสร็จ (Engineering Procurement and Construction – EPC) นำโดย บริษัท กรีนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด (GREENERGY (THAILAND) COMPANY LIMITED), บริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม จำกัด (Italthai Engineering Co., Ltd.), บริษัท เอ็นแม๊กซ์ โซล่าร์ 1 (อีพีซี) จำกัด (ENMAX SOLAR 1 (EPC) CO., LTD.), บริษัท เพาเวอร์ซิสเต็มส์แอนด์โซลูชั่นส์ จำกัด (POWER SYSTEMS AND SOLUTIONS CO., LTD.)
ด้วยความเชี่ยวชาญและศักยภาพอันเต็มเปี่ยมของ Top Partner ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมและส่งเสริมให้เกิดการเติบโตในด้านเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต
ทางด้าน คุณวัชรินทร์ บุญฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่ากรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP 2018) โดยกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนที่ร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2580 และมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งในส่วนของพลังงานไฟฟ้า พลังงานความแสงอาทิตย์ และเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ซึ่งขับเคลื่อนผ่านมาตรการต่างๆ
“นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังจัดทำแผนพลังงานชาติฉบับใหม่ ที่มีเป้าหมายการมุ่งสู่ Carbon Neutrality 2050 หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งหมายถึงการลดดูดซับ หรือชดเชยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในปริมาณที่เท่ากับการปล่อย CO2 ตามกรอบแผนพัฒนาพลังงานชาติ (National Energy Plan) ซึ่งกำหนดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไว้ที่สัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยมุ่งเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ส่งเสริมการประหยัดพลังงานให้เข้มข้นมากขึ้น รวมทั้งมีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น ภายใต้ขอบเขตของการร่วมมือในการพัฒนาส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกระหว่างภาครัฐและเอกชนที่สามารถร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนสังคม พร้อมส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในบริบทต่างๆ เช่น การส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจสีเขียว การใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญและมุมมองความต้องการในเชิงธุรกิจ”
คุณฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการธุรกิจบำรุงรักษา (ชธธ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “กฟผ. มุ่งมั่นพัฒนา “Firm Green Energy” ด้วยการควบรวมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำ หรือ “Hydro-Floating Solar Hybrid” เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคต และนำไปสู่ความมั่นคงทางพลังงานอย่างยั่งยืนต่อไป”