อสังหาฯ

ข้อควรรู้ก่อนจ้างคนเขียนแบบบ้าน ให้ตรงใจคุณ!

เมื่อพูดถึงการ เขียนแบบบ้าน แน่นอนว่าไม่ใช่ใครก็สามารถทำได้ เพราะถือเป็นหนึ่งในวิชาชีพที่จะต้องผ่านการออกแบบโดยสถาปนิกรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าหากคุณมีแพลนที่จะสร้างบ้าน หรือ ต้องการแบบบ้านในฝันสักหลัง คุณควรจะต้องศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ เขียนแบบบ้าน ให้มากที่สุด เพื่อเข้าใจหลักการ จัดเตรียมงบประมาณ รวมทั้งมองหาผู้เชี่ยวชาญที่จะสานฝันบ้านในอุดมคติของคุณให้กลายเป็นจริงได้มากที่สุด บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อควรรู้ที่จำเป็นกับคุณ ก่อนที่จะตัดสินใจจ้างฟรีแลนซ์ เขียนแบบบ้าน ให้ได้ตรงความต้องการของคุณมากที่สุดนั่นเอง

เขียนแบบบ้านคืออะไร

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่าการเขียนแบบบ้านคืออะไร การเขียนแบบบ้าน ถือเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงรายละเอียดการก่อสร้างบ้าน บอกตั้งแต่รูปแบบบ้าน ขนาด พื้นที่ และวัสดุที่ใช้ ซึ่งต้องผ่านการเขียนโดยสถาปนิก และจำเป็นต้องมี ‘ลายเซ็น’ จากสถาปนิก วิศวกรโครงสร้าง เพื่อใช้สำหรับยื่นขออนุญาตกับทางเขตอบต. หรือเทศบาล ส่งผลให้เป็นบ้านที่มีคุณภาพ สามารถสร้างได้จริง และไม่ผิดกฎหมายในการใช้สอยพื้นที่ เมื่อได้รับใบอนุญาตให้ส่งไปที่ผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่คุณจำเป็นต้องหาผู้รับเหมาก่อสร้างที่ดี และมีคุณภาพ เพราะผู้รับเหมาก่อสร้าง ถือเป็นส่วนสำคัญและเป็นตัวชี้วัดว่า คุณจะได้รับบ้านตามที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งการคัดเลือกผู้รับเหมา ไม่ควรเลือกจากราคาที่ต่ำสุดมากนัก โดยเลือกจากมีที่ตั้งสำนักงานชัดเจน มีแสดงผลงานจากการก่อสร้าง เพื่อให้คุณได้รับแบบบ้านตรงตามความต้องการมากที่สุดนั่นเอง

ทั้งนี้การเขียนแบบบ้าน สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

  • การเขียนแบบบ้านด้านสถาปัตยกรรม (Architectural Drawing)

เป็นการเขียนแบบบ้านเพื่อให้เห็นภาพรวมของทุกมิติ ที่สถาปนิกใช้ยึดเป็นแนวทางหลักในการก่อสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เช่น แปลน รูปด้าน รูปตัด รายละเอียดสัดส่วน แบบขยาย และรวมไปถึง องค์ประกอบด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการก่อสร้าง เช่น ห้อง บันได ประตู หน้าต่าง สุขภัณฑ์ ตลอดจนวัสดุที่เลือกใช้ในการก่อสร้างด้วยเช่นกัน ทั้งนี้แบบบ้านที่ได้มาตรฐานจะต้องผ่านการเซ็นรับรองโดยสถาปนิกเท่านั้น

  • การเขียนแบบบ้านด้านวิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Drawing)

เป็นการเขียนแบบบ้านที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโครงสร้างของบ้าน ความแข็งแรง มาตรฐานต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านวิศวกรรม โดยเป็นส่วนที่กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เช่น แบบคาน แบบฐานราก แบบหลังคา แบบพื้น เป็นต้น โดยจะต้องผ่านการคำนวณอย่างถูกต้องสมบูรณ์และเขียนแบบจากวิศวกรโครงสร้างเท่านั้น

  • การเขียนแบบบ้านด้านวิศวกรรมระบบไฟฟ้า (Electrical Drawing)

เป็นการเขียนแบบบ้านที่เกี่ยวข้องกับงานระบบไฟฟ้ารวมถึงระบบแสงสว่างภายในบ้าน โดยการระบุรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งไฟ ตำแหน่งเต้ารับ การเดินสายไฟภายในบ้าน ไปจนถึงตำแหน่งเครื่องปรับอากาศ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้จะไม่มีความซับซ้อนเจาะลึกมากเท่าใดนัก จึงไม่จำเป็นต้องใช้วิศวกรไฟฟ้าในการเขียนแบบ สามารถให้วิศวกรโครงสร้างออกแบบให้ได้นั่นเอง

การคำนวณราคาค่าเขียนแบบบ้าน

หากคุณจะเริ่มต้นมองหาฟรีแลนซ์สักคนในการ เขียนแบบบ้าน ให้กับคุณ การหาความรู้เกี่ยวกับราคาค่าเขียนแบบไว้ก่อน นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรพลาด เพราะนั่นหมายถึงคุณจะได้คำนวณค่าใช้จ่ายได้ก่อน อีกทั้งยังสามารถต่อรองราคาให้ตรงตามงบประมาณของคุณได้อย่างเหมาะสม มากไปกว่านั้นจะทำให้คุณเข้าใจการทำงานของสถาปนิกมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการเขียนแบบบ้านจะต้องใช้ความชำนาญและความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยการวิเคราะห์จากปัจจัยหลาย ๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ สภาพแวดล้อม วัสดุที่ใช้ ตำแหน่งการจัดวาง สภาพอากาศ ไปจนถึง การพิจารณาพื้นที่ให้มีองค์ประกอบที่ลงตัวต่อการอยู่อาศัยมากที่สุด

ราคาก่อสร้างบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท (%)10-30 ล้านบาท (%)50-100 ล้านบาท (%)
บ้าน (ไม่ตกแต่งภายใน)7.56.05.25

วิธีคิดราคาเขียนแบบบ้าน: สมมติว่าคุณต้องการสร้างบ้านเดี่ยวที่มีบริเวณพื้นที่ใช้สอยประมาณ 100 ตารางเมตร โดยมีค่าก่อสร้างประมาณ 20,000 บาท/ตารางเมตร ซึ่งค่าก่อสร้างบ้านทั้งหมดของคุณอยู่ที่ 2,000,000 ล้านบาท หากคิดค่าบริการเขียนแบบ ตรงกับตารางคือ ไม่เกิน 10 ล้านบาท เท่ากับว่า 7.50% ของราคาบ้าน เท่ากับว่าค่าบริการเขียนแบบ (2,000,000×7.50%) = 150,000 บาทนั่นเอง

ทั้งนี้ค่าบริการมักจะมีรายการอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ค่าวิศวกร ค่าโครงสร้าง ค่าเขียนแบบ ลายเซ็น ค่าวิชาชีพ และค่าผู้รับเหมา รวมไปถึงขั้นตอนการเตรียมยื่นขออนุญาตก่อสร้างเช่นกัน จึงทำให้ค่าเขียนแบบบ้าน ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างบ้านเท่านั้น แต่จะมีปัจจัยค่าใช้จ่ายเยอะแยะตามมาทีหลัง ดังนั้นคุณควรเตรียมเงินให้พร้อมอยู่เสมอ

วิธีเขียนแบบบ้านเบื้องต้นที่คุณควรรู้

การเขียนแบบบ้านเป็นพื้นฐานที่คุณจำเป็นต้องรู้ ยิ่งถ้าคุณต้องการจ้างสถาปนิกให้ออกแบบบ้านในฝันให้คุณแล้วล่ะก็ ความรู้และความเข้าใจเบื้องต้น จะยิ่งทำให้การประสานงานกับสถาปนิกเป็นไปได้ง่าย ได้แบบบ้านที่ตรงใจมากกว่า โดยก่อนอื่นจะต้องมีการสำรวจพื้นที่จริง พร้อมกับวัดขนาดพื้นที่ที่ต้องการก่อสร้างมาประกอบการเขียนแบบ พร้อมทั้งพูดคุยความต้องการของผู้อยู่อาศัยให้ได้แนวทางการออกแบบที่เป็นประโยชน์มากที่สุดนั่นเอง ซึ่งหลักการเขียนแบบบ้านโดยหลักแล้วจะประกอบไปด้วย

  • แปลนพื้น : เป็นการออกแบบบ้านในส่วนของพื้น ขนาด ตำแหน่งประตู หน้าต่าง บันได ฯลฯ
  • รูปด้าน : เป็นการเขียนแบบบ้านในส่วนชองด้านข้างทั้ง 4 ด้าน ให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น และระบุส่วนประกอบ รายละเอียด รวมถึงวัสดุ
  • รูปตัด : เป็นการเขียนแบบบ้านแสดงภาพที่ตัดให้เห็นรายละเอียดของโครงสร้างภายในต่าง ๆ อย่างชัดเจน ใช้สำหรับดูระดับ โครงสร้าง และความชัด สูง ยาว ของชั้นต่าง ๆ ในกรณีที่มีมากกว่า 1 ชั้น
  • แบบขยาย : แบบที่แสดงรายละเอียดส่วนขยายให้มองได้ง่ายมากยิ่งขึ้น สะดวกต่อการก่อสร้างและความชัดเจนของส่วนนั้น ๆ เช่น ห้องน้ำ บันได เป็นต้น
  • รายการประกอบแบบ : เป็นการเขียนแบบบ้านที่ชี้แจงรายละเอียดวัสดุต่าง ๆ ในการก่อสร้าง ทั้งในส่วนของ ประตู หน้าต่าง พื้น ผนัง ฝ้าเพดาน หลังคา

แนะนำโปรแกรมเขียนแบบบ้านฟรี

  • Live Home 3D : โปรแกรมฟรีที่จะช่วยให้คุณทดลองออกแบบบ้านได้ง่าย ๆ โดยมีเทมเพลตสำเร็จรูปมาให้ใช้เป็นต้นแบบหลากหลาย เช่น ห้อง บ้าน คอนโดมิเนียม และ อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น
  • Planner 5D : โปรแกรมเขียนแบบบ้าน ออกแบบบ้านที่มือใหม่ใช้งานได้ ซึ่งรองรับทั้งเว็บไซต์และแอพพลิเคชัน ใช้งานง่าย สามารถลงรายละเอียดได้ค่อนข้างครอบคลุม
  • SmartDraw : เว็บแอปพลิเคชันที่ให้คุณสร้าง Floorplan, Mind Mapping ได้อย่างตรงใจ มีฟีเจอร์ให้เลือกใช้หลากหลาย เหมาะกับการออกแบบบ้านโดยคร่าว ๆ ก่อนใช้ประสานงานกับสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับใครที่กำลังมองหาฟรีแลนซ์ “เขียนแบบบ้าน” ให้ตรงใจคุณอยู่ล่ะก็ เราขอแนะนำให้คุณรู้จักกับแหล่งรวมฟรีแลนซ์เกี่ยวกับ การเขียนแบบบ้าน จาก Fastwork ที่จะทำให้คุณคัดสรรสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญได้ดียิ่งขึ้น แถมสามารถสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ได้สะดวกสบาย ด้วยราคาที่เป็นกลางและเหมาะสม ยิ่งกว่านั้นยังการันตีผลงานด้วยโปรไฟล์ที่เชื่อถือได้ จึงหมดกังวลปัญหาการทิ้งงานไปได้เลย