สาธารณสุข

สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทยเตือนภัยโรคมะเร็งเต้านมชี้โรคร้ายใกล้ตัว เตรียมจัดงาน “มะเร็งเต้านม รู้ไว หายทัน”

สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย เดินหน้าให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งเต้านมชี้โรคร้ายใกล้ตัว เตือนสตรีไทยตรวจเช็คแต่เนิ่นๆ โอกาสหาย 90-100% พร้อมจุดประกายความหวังให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม เตรียมจัดงาน “มะเร็งเต้านม รู้ไว หายทัน : Pink Alert – Check & Share Project 2020ในเดือนตุลาคมของทุกปี ทั่วโลกจะร่วมกันรณรงค์ต่อต้าน “มะเร็งเต้านม” ซึ่งเป็นโรคร้ายที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งซึ่งในปีนี้ทางสมาคมฯ ได้จัดงานในวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2563 เวลา 12:00–17:00น. ณลานเอเทรี่ยม ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์พบกับกิจกรรมพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและแนวทางการรักษาแบบเจาะลึก โรคมะเร็งเต้านม รู้ไว หายทัน เปิดเคล็ดลับ ความสำเร็จพิชิตมะเร็งของอดีตผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

พลโท รศ. นพ. วิชัย วาสนสิริ นายกสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย หัวหน้าศูนย์มะเร็งเต้านม รพ.จุฬาภรณ์และที่ปรึกษาหน่วยศัลยศาสตร์มะเร็ง รพ.พระมงกุฎเกล้า กล่าวว่าปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่พบบ่อยมากที่สุดชนิดหนึ่งและนำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิง ในระยะเวลา 1 ปี มีผู้หญิงมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม และมีประมาณ 15-20%ที่เสียชีวิตจากโรคนี้1เนื่องจากผู้ป่วยกว่าจะมารักษาโรคเข้าสู่ระยะที่ 3-4 ทำให้การรักษาอาจไม่ตอบสนองกับโรค ดังนั้นผู้หญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพเต้านมของตนเองอย่างสม่ำเสมอพบแต่เนิ่นๆเข้ารับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์และด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็ยังมีโอกาสที่จะสามารถรักษาให้หายได้เพราะพบว่า มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด แต่อัตราการเสียชีวิตของมะเร็งเต้านมโดยรวมนั้นเกิดประมาณ 30% ซึ่งน้อยกว่ามะเร็งปอดที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 70% มะเร็งตับ 99%  มะเร็งลำไส้ 57%

โดยมะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะ 0เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านมระยะนี้มีโอกาสรักษาหายขาดได้ถึง 98-99% ระยะ 1ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองโอกาสรักษาหายขาดได้ 90-95% ระยะ 2ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ระยะนี้โอกาสหายประมาณ 80%-90% ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นระยะ 3ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง บริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นโอกาสรักษาหายขาดได้ 60-70% ระยะ 4มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆแล้วโอกาสหายขาดมีเพียง 30%-40%

พลโท รศ. นพ. วิชัย กล่าวต่อว่า การรักษามะเร็งเต้านมควรรักษาโดยอาศัยความร่วมมือของแพทย์หลายสาขา (สหสาขา; multidisciplinary) คือ ศัลยแพทย์เต้านม, อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา, รังสีแพทย์, พยาธิแพทย์ เพื่อที่จะวางแผนการรักษาผู้ป่วย ซึ่งการรักษาที่เป็นมาตรฐานก็จะมีการผ่าตัด(Surgery), การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy), ยามุ่งเป้า (Targeted therapy),  การให้ยาต้านฮอร์โมน(Hormonal Therapy),และ การฉายรังสีรักษา(Radiation)ในปัจจุบันก็มีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของการรักษามะเร็งเต้านม อย่างเช่นตัวยามุ่งเป้าที่มีประสิทธิภาพดีมากขึ้นเรื่อยๆพร้อมกับผลข้างเคียงที่น้อยลงมาเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยและทำให้โอกาสที่จะรักษาแล้วหายขาด หรือมีอัตราการรอดชีพที่นานขึ้นมีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยกตัวอย่างเช่น ในการรักษามะเร็งเต้านมในผู้ป่วยที่มีก้อนขนาดใหญ่ ไม่สามารถผ่าตัดออกได้ เราก็สามารถให้ยาตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด (หรือที่เรียกว่า การให้Neoadjuvant treatment)ไปก่อน เพื่อทำให้ก้อนยุบลงในระยะเวลาอันสั้น และสามารถผ่าตัดออกได้ ซึ่งการให้ยาก่อนการผ่าตัดนั้นมีประโยชน์ในเรื่องของการประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยต่อยา และ ในบางรายที่มีการตอบสนองที่ดีมากกับยาและก้อนยุบหมด ก็มีงานศึกษาวิจัยออกมาว่าในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จะมีพยากรณ์โรคที่ดี โอกาสกลับมาเกิดเป็นซ้ำน้อยกว่าและมีอัตราการรอดชีพในระยะยาวมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อยาได้น้อย หรือไม่ตอบสนอง4 นอกจากนี้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมบางรายเมื่อได้รับยาก่อนการผ่าตัด หากก้อนยุบดี ก็อาจสามารถผ่าตัดเต้านมแบบสงวนเต้าได้ ไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกไปทั้งหมด

ทางด้าน รศ. พญ. เยาวนุช คงด่าน อุปนายกสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทยและผู้อำนวยการรพ. นมะรักษ์การคัดกรองมะเร็งเต้านมจึงมีความสำคัญ ทำให้สามารถตรวจเจอได้ตั้งแต่ก้อนเล็กกว่า 1 ซม. การคัดกรองมะเร็งเต้านม ควรทำเป็นประจำ หากมีการตรวจพบตั้งแต่แรกตั้งแต่ระยะต้น หรือเจอความผิดปกติก่อนที่จะมีการเปลี่ยนเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมประกอบด้วยตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งหลังประจำเดือนมาวันแรก 3-10 วัน ตั้งแต่วัยที่เริ่มมีประจำเดือนให้เป็นนิสัยโดยสังเกตอาการแสดงดังนี้

มะเร็งเต้านมอาจมีอาการแสดงหลายอย่าง ที่พบบ่อยที่สุดคือคลำได้ก้อนที่เต้านม ก้อนที่คลำได้มักจะมีขนาดใหญ่กว่า 1-2 ซม.จึงจะคลำได้ หากเล็กกว่านี้ต้องใช้แมมโมแกรมและอัลตราซาวด์จึงจะตรวจพบแผลบริเวณหัวนม ในมะเร็งเต้านมชนิดPaget’s จะเริ่มที่หัวนมก่อน แต่หากเริ่มที่ลานนมมักจะเป็นจากการอักเสบเลือดออกจากหัวนม จะออกมาเองโดยไม่ต้องกดบีบจากท่อน้ำนมเดี่ยวๆ มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมประมาณ 2%มีแผลที่เต้านม และยิ่งร่วมกับการมีก้อนที่เต้านมทำให้นึกถึงมะเร็งเต้านมมากขึ้นมีการดึงรั้งของผิวหนังให้บุ๋มลง หัวนมบุ๋มลงก้อนที่โตเร็ว เต้านมแข็งขนาดใหญ่ขึ้นมีแดงร้อนที่ผิวหนังเต้านม 2 ข้างเปลี่ยนแปลงขนาดไม่เท่ากัน นอกจากนี้จากการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ตรวจหาโรคทุก 1-2 ปี ตั้งแต่อายุ 40-75 ปี

ดังนั้นในเดือนตุลาคมของทุกปี ทั่วโลกจะร่วมกันรณรงค์ต่อต้าน “มะเร็งเต้านม”ในปีนี้ทางสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย เน้นให้ความสำคัญ เป็นสื่อกลางในการกระตุ้น ตระหนัก เตือนภัยถึงภัยร้ายของโรคมะเร็งเต้านม ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเป็นการสร้างกำลังใจร่วมแบ่งปันซึ่งกันและกัน โดยจัดงาน“มะเร็งเต้านม รู้ไว หายทัน : Pink Alert – Check & Share Project 2020ในวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2563 เวลา12:00– 17:00 น. ณลานเอเทรี่ยม ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบกับกิจกรรมพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและแนวทางการรักษาแบบเจาะลึก โรคมะเร็งเต้านม รู้ไว หายทัน  เปิดเคล็ดลับ ความสำเร็จพิชิตมะเร็งของอดีตผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมกิจกรรม Check it Up นำทีมพยาบาลวิชาชีพมาตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมให้กับผู้หญิงที่ร่วมงานทุกท่าน และการสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเองง่ายๆ  พบกับเคล็ดลับ ความสำเร็จพิชิตมะเร็งของอดีตผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม อาทิ  ป้าเจี๊ยบ-นงลักษณ์ ชัยฤทธิไชย อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และนักกีฬาลองบอร์ดดาวน์ฮิลล์ทีมชาติไทย อายุ 63 ปี  คุณโบว์-ทัศนีย์ พงศ์กิจธนากร อดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ระยะ 2B ผู้ได้แรงบันดาลใจในการเล่นฟิกเกอร์สเก็ต อายุ 49 ปีพร้อมทั้งศิลปินดารามาร่วมให้กำลังใจกับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

สนใจติดต่อสำรองที่นั่งได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันศุกร์ ที่ 9 ตุลาคม 2563สามารถลงทะเบียนได้ที่นี่ https://forms.gle/ZUGENgrzGKMJ2DZd8หรือลงทะเบียนผ่าน อีเมลล์PinkAlertProject@gmail.com

โทร. 083-291-1188 (ระหว่างเวลา 10.00–18.00 น.)และดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :PinkAlertProject