ในประเทศ

CEA เชิดชูนักสร้างสรรค์ตัวอย่าง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย   ครั้งแรกกับงานประกาศรางวัล Creative Excellence Awards 2023 (CE Awards)

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) จัดพิธีมอบรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Excellence Awards (CE Awards) ครั้งแรก เพื่อเชิดชูและส่งเสริมบุคคล ชุมชน ผู้ประกอบการ หน่วยงาน องค์กร หรือสถาบัน ต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ เครื่องมือ หรือกระบวนการ โดยนำความคิดสร้างสรรค์ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างให้เกิดคุณค่า (Value Creation) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคมหรือสิ่งแวดล้อมเพื่อต่อยอดไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานมอบรางวัลให้กับนักสร้างสรรค์จำนวน 28 รางวัล

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เวทีประกาศรางวัล Creative Excellence Awards จะเป็นปฐมบทใหม่ของการเฉลิมฉลองให้แก่ศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย ที่ “ความคิดสร้างสรรค์” ไม่ได้อยู่แค่ในบริบทของศิลปะหรือความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็น “กระบวนการเชื่อมโยงและตกผลึกองค์ความรู้ใหม่ ๆ” ซึ่งมีพลังในการจุดประกายและขับเคลื่อนผู้คนในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ธุรกิจ ผู้คน ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้กล่าวว่า พันธกิจของ CEA นั้นมุ่งผลักดันความคิดสร้างสรรค์ให้สามารถขับเคลื่อนองคาพยพระบบเศรษฐกิจในระดับประเทศ ผ่านการสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่แข็งแกร่ง พร้อมส่งออกศักยภาพของต้นทุนทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ไทยไปสู่การสร้างการรับรู้ในระดับนานาชาติ หรือ Soft Power จึงเป็นเหตุผลให้เราได้จัดให้มีงานมอบรางวัล Creative Excellence Awards หรือ CE Awards ขึ้นเป็นปีแรกนี้ ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รางวัลนี้ยังจะช่วยกระตุ้นนักสร้างสรรค์ไทยได้พัฒนาผลงานในทุกมิติที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม เพื่อขับเคลื่อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคม

สำหรับเกณฑ์การให้รางวัล ผลงานนั้นจะต้องมีคุณลักษณะที่เป็นไอเดียที่แปลกใหม่ สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มได้ รวมถึงยังต้องก่อให้เกิดประโยชน์และผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้จะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก เริ่มต้นด้วย Creative Data Intelligence โดยใช้ระบบ Mandala AI จากการดึงข้อมูลจาก Social Listening ผ่าน Keyword ต่างๆ จนได้ผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งหมด 374 ผลงาน จากนั้นจึงเข้าสู่ Verification Screening การคัดกรองจากทีมคณาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 8 แห่ง จนเหลือ 196 ผลงาน และได้ใช้กระบวนการ In/Out ตามเกณฑ์คัดเลือกของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขาจนกลายเป็น 168 ผลงาน สุดท้ายผลงานทั้งหมดที่คัดเลือกแล้วได้เข้าสู่กระบวนการ Discussion & Vote หารือและโหวตโดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนองค์กรชั้นนำที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจนได้ออกมาเป็น 28 ผลงานสร้างสรรค์แห่งปี

 “สำหรับรางวัล CE Awards จะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงเครื่องการันตีศักยภาพความสำเร็จของผู้ที่ได้รับรางวัลเท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์และการแสดงออกเรื่องวิสัยทัศน์แห่งความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลก อีกทั้งยังช่วยในการจุดประกายพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์อันหลากหลาย พร้อมบ่มเพาะระบบนิเวศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ความคิดสร้างสรรค์ให้เติบโต และยั่งยืนต่อไปในอนาคต” ดร.อรรชกา สีบุญเรือง กล่าวสรุป

รางวัล Creative Excellence Awards หรือ CE Awards ได้รับเกียรติจาก นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มาเป็นประธานในการมอบรางวัล โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 28 รางวัล แบ่งเป็น 3 ประเภท 15 สาขา อันได้แก่

ประเภทที่ 1 Creative City Awards จำนวน 5 รางวัล

รางวัลการพัฒนาย่าน สถานที่ชุมชน หรือเมือง รวมทั้งกิจกรรมที่ดึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว เชื่อมโยงกับเรื่องราวของย่าน ผู้คน หรือธุรกิจดั้งเดิม ผสานกับความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและพัฒนาให้ตอบโจทย์คนในพื้นที่และผู้มาเยือนในมิติต่าง ๆ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และความยั่งยืน

Awakening Bangkok โดย Time Out Bangkok

1.1 Creative City Festival Award

ผู้รับรางวัล : Awakening Bangkok โดย Time Out Bangkok

1.2 Creative City Branding Award

ผู้รับรางวัล : ถนนสายไม้บางโพ โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชุมชนประชานฤมิตร

1.3 Creative City Cultural Asset Award จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1.Phuket Peranakan Festival โดย จังหวัดภูเก็ต, องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และสมาคมเพอรานากันประเทศไทย

2.เยาวเล่น โดย เครือข่ายสาธารณะ (SATARANA)

1.4 Creative City Regeneration Award จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1.คลองแม่ข่า โดย จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่

2.Pattani Decoded โดย Melayu Living

1.5 Creative City Advocacy Award จำนวน 3 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. จริงใจ Farmers Market เชียงใหม่ โดย กลุ่มเซ็นทรัล

2. River City Bangkok โดย Chaophaya Development Corporation Limited

3. โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น โดย ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม

ประเภทที่ 2 Creative Business Awards แบ่งเป็น 2 กลุ่ม จำนวน 6 รางวัล

กลุ่มที่ 1 : Sustainability Awards รางวัลสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการหรือโครงการ ที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบหรือกระบวนการผลิต ที่เน้นความยั่งยืนและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืน

ดอยคำ ICE POP บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด

2.1 Creative Sustainable Product Award (For Large Enterprise)

ผู้รับรางวัล : ดอยคำ ICE POP บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด

2.2 Creative Sustainable Product Award (For SME & Community) จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. Moreloop บริษัท มอร์ลูป จำกัด

2. CARECHOICE บริษัท ด.เด็กกินผัก จำกัด

2.3 Creative Sustainable Project Award (For Large Enterprise) จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. โครงการ เชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง(ฮิ) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

2. reBOX บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท เอสซีจีแพคเกจจิ้ง จัดกัด (มหาชน)

2.4 Creative Sustainable Project Award (For SME & Community) จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. NAMSAI กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากตอซังข้าว ต.หนองน้ำใส จ.พระนครศรีอยุธยา

2. ดอนพุด โมเดล ชุมชนอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี

กลุ่มที่ 2 : Value Creation Awards รางวัลของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคุณค่าเพิ่มในเชิงธุรกิจ ผ่านผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือโครงการ โดยเป็นการผสมผสานระหว่างมิติทางเศรษฐกิจและมิติความยั่งยืนอย่างลงตัว

2.5 Value Creation Award จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. THAI FIGHT Hotel บริษัท ไทยไฟท์ จำกัด

2. Siam Diamond บริษัท ท๊อปฟู้ดส์ซัพพลาย จำกัด

LUMPINEE BOXING STADIUM

2.6 Cross-Sector Collaboration Award จำนวน 3 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. LUMPINEE BOXING STADIUM ศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก (มวยไทยลุมพินี) และบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน)

2. Guss Damn Good บริษัท กัสส์ แดมน์ กู๊ด จำกัด

3. Q-CHANG X ช้าการช่าง โดยมูลนิธิกระจกเงา บริษัท เน็กซเตอร์ดิจิตอล แอนด์โซลูชั่น จำกัด และโครงการจ้างวานข้า มูลนิธิกระจกเงา

ประเภทที่ 3 Creative Social Impact Awards จำนวน 4 รางวัล

รางวัลสำหรับการนำความคิดสร้างสรรค์ไปประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ไขหรือคลี่คลายประเด็นต่าง ๆ ทางสังคม (Social) อีกทั้งช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นให้น้อยลง

3.1 Creative Community Engagement Award จำนวน 3 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. Traffy Fondue (ทราฟฟี่ ฟองดูว์) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรุงเทพมหานคร

2. Yindii (ยินดี) MR.Louis-Alban Batard-Dupre (มิสเตอร์ หลุยส์ อัลบาน บาทาด) Co-Founder & CEO

3. Agri-Map กรมพัฒนาที่ดิน และศูนย์เทคโนโลยีอีเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

Khee ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น khee

3.2 Creative Well-Being Award  จำนวน 2 รางวัล

ผู้รับรางวัล :

1. Khee ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น khee

2. Vulcan Coalition บริษัท วัลแคน โคอะลิชั่น จำกัด

3.3 Creative for Elderly Award

ผู้รับรางวัล : Joy Ride บริษัท วีล ออฟ จอย จำกัด

3.4 Creative Education Award

ผู้รับรางวัล : ยังเเฮปปี้ “เเพลตฟอร์มสังคมความสุขของคนวัยเก๋า” บริษัท ยังแฮปปี้ จำกัด