สสส.เดินหน้าปลุกพลังอาชีวะยกเป็นต้นแบบป้องกันปัจจัยเสี่ยง
สสส. ลงพื้นที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นต้นแบบยกระดับสู่สถานศึกษาลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยบวกเดินหน้าปลุกพลังผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวะพร้อมดึงเยาวชนร่วมสื่อสารข้อมูลเชิงบวกลดปัจจัยเสี่ยงเหล้า-บุหรี่ ให้เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องอีกด้าน
เมื่อวันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 น. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น จัดกิจกรรม “สัญจรลงพื้นที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาต้นแบบยกระดับสู่สถานศึกษาลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยบวก” ตามโครงการพัฒนาเครือข่ายหนุนเสริมศักยภาพครู และแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษาป้องกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) ที่ห้องประชุมเฟื่องฟ้า วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น โดยมี ดร.กรรณิกา ยอดสง่า ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น เป็นประธานเปิดงาน มี น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สสส.) คณะวิทยากรและอาจารย์จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นร่วมกิจกรรมที่มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจากสายด่วน 1413 , สายด่วน 1600 มีความสำคัญในการช่วยเหลือนักศึกษากลุ่มเสี่ยงอย่างไร พร้อมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตอบข้อซักถาม จากนั้นมีการนำเสนอผลงานรณรงค์เรื่องเหล้าและบุหรี่ผ่านกิจกรรมศิลปะเพ้นท์กำแพง
น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สสส.) กล่าวว่า โครงการพัฒนาเครือข่ายหนุนเสริมศักยภาพครู และแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษาป้องกันปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติและพัฒนากลไก ลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยบวกในการส่งเสริมสุขภาวะ และช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง ต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในนักเรียน นักศึกษา ระดับอาชีวศึกษา ซึ่งโครงการได้จัดกิจกรรม ” สัญจรลงพื้นที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาต้นแบบยกระดับสู่สถานศึกษาลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยบวก” มีกลุ่มเป้าหมายคือ คณะครู บุคลากรทางการศึกษา และกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ให้คณะครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน นักศึกษา มีความรู้ สามารถป้องกันตนเองจากยาเสพติดตระหนักถึงโทษในอบายมุขและยาเสพติดทุกประเภท ซึ่ง สสส.ได้จัดสรรงบประมาณให้วิทยาลัยอาชีวศึกษา 25 แห่งดำเนนินการต่อมาเพิ่มขึ้นเป้น 48 แห่ง การดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้เรียนรู้ได้ว่าการให้ความรู้แก่เยาวชนถึงโทษภัยของเหล้า-บุหรี่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงมีแนวคิดให้เด็กสร้างสื่อเพื่อสื่อสารความคิดเชิงบวกลดปัจจัยเสี่ยง
ด้าน ดร.กรรณิกา ยอดสง่า ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น เปิดเผยว่า ปัญหาเหล้าและบุหรี่กระทบกับสถานศึกษาและนักศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่เยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้เยาวชนสนใจทดลอง โดยที่นักศึกษาไม่ได้รับข้อมูลพิษภัยของสิ่งเสพติดเหล่านั้น ซึ่งวิทยาลัยฯ ได้คุมเข้มและตรวจสอบหานักศึกษาที่หลงผิดไปลิ้มลอง จากการดำเนินการที่ผ่านมา สสส.สนับสนุนการรณรงค์ครั้งนี้ พบว่าภาพรวมการรณรงค์เป้ฯที่น่าพอใจ เด็กและเยาวชนดีรับความรู้ผ่านการสื่อสารจากเพื่อนสู่เพื่อนและได้รับการนำสู่กระบวนการลด-ละ-เลิก ถือเป้นการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการที่ได้ผลเป็นรูปธรรม