ในประเทศ

The Aspen Tree จับมือ สองศูนย์วิจัยชั้นนำ นำผลวิจัยประยุกต์ใช้จริง  เพื่อสุขภาวะสมองที่ดี และความสุขอันยั่งยืนของวัย 50+

The Aspen Tree จับมือ สองศูนย์วิจัยชั้นนำ Baycrest และ Happiness Science Hub by RISC นำผลวิจัยประยุกต์ใช้จริง  เพื่อสุขภาวะสมองที่ดี และความสุขอันยั่งยืนของวัย 50+  ตอบโจทย์เทรนด์โลกสังคมสูงวัย

The Aspen Tree โครงการที่อยู่อาศัยเพื่อวัยอิสระแห่งแรกที่ใช้นวัตกรรมและผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาโครงการ ด้วยความร่วมมือของสองศูนย์วิจัยระดับโลก ร่วมสร้างนวัตกรรมด้านสมองและปฏิวัติการดูแลลูกบ้านด้วยองค์ความรู้ใหม่

ดร. วิทยา สินทราพรรณทร ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดโครงการ ดิ แอสเพน ทรี เดอะ ฟอเรสเทียส์

ดิ แอสเพน ทรี เดอะ ฟอเรสเทียส์ (The Aspen Tree The Forestias) โครงการที่อยู่อาศัยเพื่อวัยอิสระ ร่วมกับ เบย์เครสต์ (Baycrest) ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงวัยระดับโลกจากแคนาดา และ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนภายใต้ MQDC (RISC by MQDC) ร่วมศึกษาและพัฒนางานวิจัยเชิงลึกด้านสมอง การชะลอความเสื่อมและหาแนวทางป้องกันโรคทางสมองที่เกิดจากความเสื่อมตามวัย รวมถึงวิจัยศาสตร์แห่งความสุข ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่โดยนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อวัย 50+ อย่างแท้จริง ตอบโจทย์สังคมสูงวัยซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกและในประเทศไทย อีกทั้งผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกในอีก 30 ปีข้างหน้า ทั้งนี้โครงการที่อยู่อาศัย ดิ แอสเพน ทรี จะเป็นแห่งแรกในโลกที่ได้นำผลงานวิจัยเชิงลึกนี้ไปประยุกต์ใช้จริง เพื่อการดูแลผู้อยู่อาศัยตลอดชีวิต (Holistic Lifetime Care) เน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพสมอง และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย มีความสุข

นายคริสเตียน ทอยวาเนน ผู้อำนวยการบริหาร โครงการ ดิ แอสเพน ทรี เดอะ ฟอเรสเทียส์ (The Aspen Tree The Forestias) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ทางโครงการยินดีอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งร่วมสนับสนุนองค์ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์และต่อยอดนวัตกรรม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อผู้คน และสังคมวัยอิสระได้อย่างแท้จริง และยังเป็นโอกาสอันดีที่ทางโครงการ จะได้นำงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเวชศาสตร์การแพทย์ มาประยุกต์ใช้พัฒนาโครงการได้จริงเป็นแห่งแรกของโลก เพื่อให้โครงการ ดิ แอสเพน ทรี สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยได้คุณภาพตามวิสัยทัศน์ที่ต้องการมอบการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรตลอดชีวิตให้แก่ผู้อาศัย (Holistic Lifetime Care) นอกจากนี้ผลงานวิจัยเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนสำคัญที่จะนำมาใช้ที่ศูนย์บริการทางการแพทย์เฉพาะทางสมองและฟื้นฟูสุขภาพ (Health & Brain Center) ของ ดิ แอสเพน ทรี ที่จะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้อีกด้วย

ทั้งนี้ ทาง ดิ แอสเพน ทรี ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มค่าเฉลี่ยอายุที่สูงขึ้นของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จึงได้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับประชากรกลุ่มดังกล่าวโดยเฉพาะ โดยตั้งเป้าให้เป็นโครงการแห่งแรกของโลกที่มอบการดูแลอย่างครบวงจรตลอดชีวิต เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกาย ใจ สมอง และสังคม จึงได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยและองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลวัยอิสระในการพัฒนาโครงการ เพื่อให้โครงการมีความพร้อมในการรองรับประชากรวัยอิสระได้อย่างสมบูรณ์แบบตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ จนถึงการให้บริการหลังลูกบ้านเข้าอยู่อาศัยในโครงการแล้ว

“กลุ่มวัยอิสระนับเป็นประชากรที่มีความสำคัญต่อสังคม เพราะคนกลุ่มนี้จำนวนมาก มีความสามารถและ ประสบการณ์มากมาย หลายคนยังแอคทีฟ สามารถทำงาน ทำประโยชน์ เพื่อสังคมได้ไม่ด้อยไปกว่า ประชากรวัยทำงาน การส่งเสริมให้คนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ ไม่เพียงแต่ทำให้พวกเขามีความสุข แต่ยังส่งผลถึงการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพในทุกมิติ โครงการดิ แอสเพน ทรี ยินดีที่ได้ร่วมมือกับ Happiness Science Hub by RISC และ Baycrest โดยพร้อมจะเป็น sandbox หรือสถานที่ที่ให้นวัตกรจากศูนย์วิจัยและพันธมิตร ได้นำนวัตกรรมมาใช้ภายในโครงการเป็นแห่งแรก เพื่อประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยในโครงการ และการศึกษาพัฒนาต่อยอดในอนาคตอีกด้วย”

ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนภายใต้ MQDC (RISC by MQDC) และหัวหน้าทีมวิจัยศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ (Happiness Science Hub) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ ทาง RISC ได้นำเสนอผลงานจากศูนย์วิจัยศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 กลุ่มงานวิจัยของ RISC และเป็นศูนย์วิจัยแห่งแรกในเอเชียที่เน้นค้นคว้าวิจัยเชิงลึก มุ่งค้นหาความลับการทำงานของสมองโดยเฉพาะ เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้มนุษย์มีความสุข ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ประชากร โดยเฉพาะกลุ่มคนวัย 50+ ซึ่งกำลังกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

“เราจะนำนวัตกรรมจากศูนย์วิจัยศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ มาใช้ในโครงการดิ แอสเพน ทรี เป็นแห่งแรก เนื่องจากเป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นโดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างความสุขทั้งกายและใจอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของเรา ที่สำคัญ ดิ แอสเพน ทรี ยังเน้นกลุ่มเป้าหมายคนวัย 50+ ซึ่งเป็นกลุ่มวัยที่เหมาะจะนำงานวิจัยของเราไปประยุกต์ใช้ ก่อนที่จะเผยแพร่ความรู้ที่ค้นพบใหม่นี้สู่สาธารณะ เพื่อขยายผลการสร้างสรรค์นวัตกรรมในอนาคต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน” ดร. สฤกกา กล่าว 

ทั้งนี้ ศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ (Happiness Science Hub) เป็นการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยาของคนทุกช่วงวัย และวิจัยประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านสัญญาณสมองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างอารมณ์เชิงบวก และความสุข (Mental Well-Being) รวมถึงทำความเข้าใจความเสื่อมถอยด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ และหาแนวทางลดความเสี่ยงการเกิดโรค อาทิ โรคสมองเสื่อม และอัลไซเมอร์ เพื่อหาปัจจัยในการส่งเสริมคนแต่ละช่วงวัยให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งปัจจุบันนี้ ศาสตร์นี้จัดเป็นวิทยาศาสตร์สาขาใหม่ที่มีองค์ความรู้จำกัด

ดร.สฤกกากล่าวเสริมว่า “งานวิจัยในศาสตร์นี้สามารถนำมาพัฒนาที่อยู่อาศัย เมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อการใช้ชีวิตให้มีความสุขอย่างยั่งยืน แต่ปัจจุบันความรู้สาขานี้ยังมีจำกัด ความร่วมมือระหว่างสามพันธมิตร ผู้เชี่ยวชาญต่างสาขา จะช่วยดึงดูดนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขามาร่วมกันศึกษา ความรู้ใหม่ๆ ต่อเนื่องต่อไป”

ในการทำงานวิจัยนี้ RISC ยังได้รับความร่วมมือจากนักวิจัย นวัตกร และผู้เชี่ยวชาญ พันธมิตรจากหลากหลายสาขา อาทิ ศูนย์ปฏิบัติการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ (Brain-computer Interface Lab: BCI) ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์วิจัยด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถาบันพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และอื่นๆเพื่อนำความรู้ไปต่อยอดอีกด้วย

ขณะเดียวกัน เบย์เครส อีกหนึ่งพันธมิตรสำคัญซึ่งทำงานวิจัยศาสตร์เชิงป้องกันและเวชศาสตร์ผู้สูงวัยและสถานพยาบาลเพื่อดูแลสุขภาพคนวัยอิสระมานานนับร้อยปี ได้นำผลงานนวัตกรรม Cogniciti ของศูนย์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการรับมือกับภาวะความเสื่อมของสมองและศาสตร์เชิงป้องกันโรคทางสมองต่าง ๆที่มักเกิดกับประชากรวัย 50+ มาร่วมใช้กับโครงการ ดิ แอสเพน ทรี และให้คนไทยได้ใช้อีกด้วยเช่นกัน

รศ. ดร. ซิด เฟลด์แมน ผู้อำนวยการฝ่ายเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน เบย์เครสท์ เซ็นเตอร์ และหัวหน้าแผนกการดูแลผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประจำมหาวิทยาลัยโตรอนโต กล่าวว่า “เบเครสต์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งได้เป็นพันธมิตรกับ MQDC ซึ่งเป็นองค์กรมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเพื่อประชากรสูงวัย อย่างที่เห็นได้จาก โครงการ ดิ แอสเพน ทรี เดอะ ฟอเรสเทียส์ ซึ่งจะเป็นโครงการที่ช่วยบุกเบิก เสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพ ความเข้าใจและการดูแลสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ ผมเชื่อว่าแอสเพน ทรี จะเป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลง ทั้งแนวคิดการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยและในโลก ด้วยสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตที่ออกแบบด้วยนวัตกรรม และยังมีโปรแกรมด้านสุขภาพ และการมุ่งเน้นไปที่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำหน้าต่างๆเพื่อยกระดับโปรแกรมการดูแลความเป็นอยู่ให้กับผู้อยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้นไปอีก” รศ. ดร. ซิด กล่าว

“ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของ Baycrest ในด้านการดูแลผู้สูงอายุระดับชั้นแนวหน้าของโลก ที่ยากหาใครเทียบได้ เราตั้งตารอที่จะได้เห็นประวัติศาสตร์ความเป็นเลิศในด้านการดูแลประชากรสูงวัย จากนวัตกรรม และการวิจัยตลอดระยะเวลากว่า 105 ปีของเรา จะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกในการดูแลประชากรสูงวัยของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้โครงการแอสเพน ทรี เป็นโครงการที่อยู่อาศัยของประชากรวัยอิสระที่สมบูรณ์แบบ และเป็นโครงการตัวอย่างให้กับการพัฒนาโครงการชุมชนผู้สูงอายุอื่นๆอีกด้วย”

“ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความร่วมมือจาก RISC และ ดิ แอสเพน ทรี เราจะร่วมพัฒนา Cogniciti นวัตกรรมทดสอบสุขภาพสมองของเราฉบับภาษาไทยขึ้น ซึ่งเป็นภาษาที่สามของโลก  โดยแบบทดสอบนี้จะช่วยให้ผู้ทดสอบได้รับรู้ถึงสุขภาวะสมองในเบื้องต้น” รายงานจาก Statista พบว่าประชากรสูงอายุทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 20-30% ของประชากรทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2563 เป็น 30-40% ในปี 2593 ซึ่งหมายถึงประชากรโลก 1 ใน 6 คนเป็นผู้สูงอายุ  นอกจากนี้ รายงานในวารสาร Lancet Public Health ในปี 2565 คาดการณ์ว่าประชากรโลกที่มีภาวะสมองเสื่อม จะเพิ่มขึ้นมากถึง 166% ในปี พ.ศ. 2593 นับจากปี 2562 ส่วนในประเทศไทย ประชากรอายุเกิน 60 ปี ซึ่งมีประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมดเมื่อปี พ.ศ. 2565 และจะเพิ่มเป็น 40%ในปี พ.ศ. 2593 และผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าเป็นห่วงถึง 257% ใน 30 ปีข้างหน้า